ระบบเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจ

        1  การเกษตร

ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสัก  ประกอบอาชีพการเกษตรซึ่งส่วนใหญ่จะทำนาเป็นหลัก และในลำดับรองลงมาจะปลูกอ้อย  ข้าวโพด ทำสวนมะม่วง  ทำสวนมะนาว  ปลูกผักสวนครัว และดอกไม้  เพื่อนำผลผลิตออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด และมีลานตากสำหรับตากข้าวไว้ให้บริการแก่เกษตรกร จำนวน 1 แห่ง

        2  การประมง

การประมงของประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าสัก เลี้ยงปลาในสระ และกระชังริมแม่น้ำน่านเป็นอาชีพหลัก  และบางครัวเรือนก็จะทำการประมงโดยการดักปลาในแม่น้ำเพื่อมาจำหน่ายในช่วงฤดูน้ำหลาก (ฤดูฝน) เป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ครอบครัว

        3  การปศุสัตว์

การปศุสัตว์ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าสักเป็นในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนและเลี้ยงเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม ได้แก่ โค  กระบือ  หมู  ปลา  ไก่ เป็ด และอื่นๆ ทั้งนี้ในพื้นที่ยังมีฟาร์มเลี้ยงไก่ จำนวน 2 แห่ง และยังมีโรงฆ่าสัตว์ของเอกชน จำนวน 1 แห่ง

        4  การบริการ

ธุรกิจด้านการบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสัก   ประกอบไปด้วย

ลำดับ

ประเภท

จำนวน

1

2

3

4

5

6

7

8

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสัก

ร้านค้าชุมชน

ร้านขายของชำ

ร้านขายปุ๋ยเคมี

อู่ซ่อมรถ

ปั๊มน้ำมันและก๊าซ

สหกรณ์

ร้านเสริมสวย

1

1

60

7

13

7

2

5

        5.  การท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสัก ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว

        6.  อุตสาหกรรม

จำนวนกิจการอุตสาหกรรม  โรงสีข้าว   จำนวน ๑ แห่ง

        7.  การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

ลำดับ

ประเภท

จำนวน

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

ร้านค้าชุมชน

ร้านขายของชำ

ร้านขายปุ๋ยเคมี

อู่ซ่อมรถ

ปั๊มน้ำมันและก๊าซ

โรงสี

สหกรณ์

โรงฆ่าสัตว์

ร้านเสริมสวย

ฟาร์มไก่

ลานตากข้าว

1

60

7

13

4

1

2

1

5

2

1

        8.  แรงงาน

ประชากรที่มีอายุ  ๑๕ – ๖๐  ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ  ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม  บริษัท  ห้างร้านใหญ่ๆ  เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย  และเป็นพื้นที่การเกษตร จึงมีเพียงการจ้างแรงงานด้านเกษตรกรเฉพาะในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรแต่ละประเภท  ประกอบกับค่าจ้างแรงงานในพื้นที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับจังหวัด ซึ่งปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้

————————————–